วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2551

BMW M3 Convertible รหัสร้อนเวอร์ชั่นเปิดประทุน


BMW M3 Convertible เป็นตัวแรงเวอร์ชั่นที่ 3 ต่อจาก M3 Coupe และ M3 Sedan โดยได้รับการพัฒนาบนตัวถังของ 3 Series รุ่นเปิดประทุนที่มาพร้อมหลังคาแบบแข็ง

BMW M3 Convertible ยังคงใช้เครื่องยนต์บล็อกเดียวกับ M3 เวอร์ชั่นอื่น ๆ คือแบบ V8 DOHC 32 วาล์ว ขนาด 4.0 ลิตร มาพร้อมระบบวาล์วแปรผันทั้งฝั่งไอดีและไอเสีย Double-VANOS และติดตั้งลิ้นปีกผีเสื้อแบบสูบใครสูบมัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องยนต์ตระกูล M โดยมีกำลังให้ใช้ 420 แรงม้าและแรงบิด 40.8 กก.-ม.

ด้านรูปลักษณ์ภายนอกก็จะเหมือนกับรุ่น M3 Coupe ที่มีความดุดันสไตล์สปอร์ต โดดเด่นด้วยชุดกันชนหน้า-หลัง ช่องระบายด้านข้าง ท่อไอเสียแบบคู่โผล่ออกจากฝั่งซ้ายและขวา ส่วนล้ออัลอยก็มีขนาดใหญ่ถึง 19 นิ้วเสริมความหล่อได้อย่างลงตัว

ทางด้านเทคโนโลยีไฮเทคต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการขับขี่ ก็มีทั้งระบบควบคุมเสถียรภาพ DSC ระบบโช้คอัพไฟฟ้า EDC ระบบเฟืองท้าย Variable M Differential Lock ที่มาพร้อมโหมด M Drive ที่ผู้ขับสามารถปรับเซ็ตติ้งต่าง ๆ ให้เข้ากับลักษณะการขับขี่ตามใจต้องการ

วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

SUPRA (JZA80) TRD + AB-FLUG + TOP SECRET



ภายใน



เบาะคู่หน้า BUCKET SEAT จาก RECARO รุ่น RAPTOR คอนโซลกลาง คอนโซลเกียร์ ที่เปิดประตูด้านในและที่บริเวณสวิตช์เปิดกระจก CARBON จาก RSW พร้อมจอมอนิเตอร์ NAVIGATION SYSTEM



เครื่องยนต์

เครื่องยนต์รหัส VQ35DE (NEO) V6 DOHC 3,498 ซี.ซี. 280 แรงม้า เกียร์ออโตเมติก 5 สปีด สแตนดาร์ด ชุดคิตทางเดินไอเสียจาก BLITZ NUR SPEC



ช่วงล่าง

ชุดเบรกคิตหน้า-หลังจาก WP PRO ขนาด 8 พอร์ต และ 6 พอร์ต จานดิสก์ 380 มม. และ 345 มม. พร้อมล้อ VOLK RACING รุ่น GT-C ขนาด 20 นิ้ว


SUPRA 932 hp @ 7,805 rpm

ภายนอก TRD + AB-FLUG + TOP SECRET
ชุดแต่งที่มากันแบบครบชุดรอบคัน เริ่มด้วย กันชนหน้า สเกิร์ตข้าง กันชนหลัง เป็นของ TRD โดยที่ตัวกันชนหน้าเสริมแรงกดด้วย CARBON CANARD สไตล์ GT ฝากระโปรงหน้าเบาด้วย CARBON FIBER จากค่าย TOP SECRET พร้อมช่องระบายความร้อนหม้อน้ำ ส่วนจุดเด่นของด้านข้างอีกหนึ่งจุด คือ WIDE FRONT FENDER จาก AB-FLUG พร้อมช่องระบายลม 2 ชั้น ส่วนตัวกระจกมองข้างเปลี่ยนเป็นแบบแอโรไดนามิกส์ลดแรงต้านของ GANADOR ส่วนด้านท้ายเพิ่ม DOWN FORCE ช่วยยึดเกาะถนนได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังมีของตกแต่งอย่าง ตัวล็อกฝากระโปรงหน้า OMP ไฟหน้า XENON จาก HELLA และไฟหน้า-หลังจาก




ภายใน สวย เรซซิ่ง ครบ...

จากนั้นภายในห้องโดยสารตกแต่งคอนโซลหน้าด้วย CARBON LOOKS พร้อมพวงมาลัยแบบสปอร์ตสามก้านและเรือนไมล์ 320 กม./ชม. จาก TRD เบาะคู่หน้า BRIDE รุ่น STRADIA เกจ์วัดต่าง ๆ จาก DEFI รุ่น BF สำหรับวัดบูสต์ วัดอุณหภูมิไอเสีย วัดอุณหภูมิน้ำ วัดแรงดันน้ำมันเครื่องและวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนบนคอพวงมาลัยติดตั้งตัวปรับบูสต์ไฟฟ้าของ GReddy PROFEC B SPEC II นอกนั้นเป็นระบบเครื่องเสียงที่ปรับแต่งใหม่หมด ตั้งแต่ HEAD UNIT ของ ALPINE รุ่น IVA-W200E เพาเวอร์แอมป์ KENWOOD ลำโพงเสียงกลาง-แหลม FOCAL ซับวูฟเฟอร์ BAZOOKA ขนาด 8 นิ้ว


สองเจ 900 ม้า...

นอกจากความสวยงามแล้ว เรื่องของความแรงยังเป็นเครื่องยนต์เดิม นำมาปรับแต่งใหม่หมดทั้งตัว โดย SIAM PROTOTYPE และ TOON ENGINE SHOP เริ่มจากท่อนบน รีเทนเนอร์ สปริงวาล์ว เป็นของซิ่ง จาก PIPER ส่วนตัวปรับแคมชาฟท์ทั้งสองด้านเปลี่ยนเป็นของ HKS ขนาด 272 องศา ลิฟต์ 9.3 มม. พร้อมตัวปรับเฟืองแคมสไลด์จาก FIDANZA เสริมด้วยปะเก็นฝาสูบลดกำลังอัดและทนทานขึ้นจาก HKS ขนาด 1.6 มม. มาถึงไส้ในยกชุดลูกสูบเปลี่ยนมาใช้แบบ FORGED ของ JE ขนาด 87 มม. ก้านสูบ CARILLO แบบ H-BEAM


จากนั้นระบบอัดแรงดันอย่างเทอร์โบรุ่นท็อปของค่าย GReddy รหัส T88-38GK

พร้อมเฮดเดอร์สเตนเลสแยกท่อเพื่อควคบุมแรงดันบูสต์ 1.6-2 บาร์ ด้วยเวสต์เกตของ HKS GT II ต่อด้วยท่อทางเดินไอเสียชุดคิตจาก TITANIUM A'PEXi N1 ส่วนฝั่งตรงกันข้ามระบบไอดี ยกชุดใหม่ด้วยท่อร่วมไอดีขนาดใหญ่ พร้อมปากทางเข้าประกบด้วยลิ้นปีกผีเสื้อของ VH45DE ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงปรับแต่งให้มีปริมาณจ่ายน้ำมันที่สูงและเร็วขึ้นด้วยปั๊มแรงดันสูงของ WALBRO จำนวน 2 ตัว หัวฉีด SARD ขนาด 1,000 ซี.ซี. ต่อนาที รางหัวฉีด HKS ควบคุมแรงดันไหลกลับถังด้วย REGULATOR จาก HKS จากนั้นระบบไฟจุดระเบิด เพิ่มชุดไฟด้วย TWIN POWER ของ HKS รุ่น TYPE DL-I หัวเทียน GReddy เบอร์ 9 ทั้งหมดถูกควบคุมและปรับนิสัยของเครื่องยนต์ด้วยกล่องจาก HKS F-CON V PRO จูนโดย SPEED D SHOP ถังดักไอน้ำมันเครื่อง GReddy และหม้อน้ำอะลูมิเนียมจาก KOYO



ช่วงล่าง OHLINS ล้อ VOLK CE28 สิบเก้านิ้ว...

มายังส่วนต่าง ๆ ของช่วงล่างกันบ้าง ส่วนใหญ่จุดยึดยังคงเดิม ไม่มีเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้งานลดความเครียดเมื่อมีแรงม้ามากขึ้น ดังนั้นระบบรองรับน้ำหนักแรงเค้น แรงบิด ต้องอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นตามไปด้วย พื้นฐานก็ต้องมีโช้คอัพที่ปรับความหนืดได้ แถมยังสามารถปรับระดับได้อีกด้วยชุดสตรัทปรับเกลียวจาก OHLINS รุ่น PVC ชุดค้ำโช้คหน้า CARBING ค้ำโช้คหลัง CARBON จาก CUSCO ระบบเบรกหน้า-หลัง อัพเกรดยกชุดจาก BREMBO คาลิเปอร์หน้า 8 พอร์ต จานดิสก์ 380 มม. ด้านหลัง 4 พอร์ต จานดิสก์ขนาด 345 มม. พร้อมล้อสวย ๆ จาก VOLK RACING รุ่น CE28 ขนาด 19 x 10.5 นิ้ว ยางหน้า FEDERAL SUPER STEEL 595 ขนาด 275/30 ZR19 ยางหลังจาก DUNLOP SP 9000 ขนาด 285/30 ZR19

FAIRLADY Z (UA-Z33) VERTEX+TOP SECRET


ฉบับแรกที่เพิ่งผ่านพ้นไป คงเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงกันไปบ้างแล้วนะครับ ชอบไม่ชอบอย่างไร ส่งเมล์มาติชมกันได้ตลอดนะครับ ในฉบับนี้ขอไม่พูดพร่ำทำเพลงอะไรละนะ เข้าสู่ภาพรวมของ SUPRA รหัสบอดี้ JZA80 (UK SPEC) และ FAIRLADY Z (UA-Z33) กันเลยดีกว่า... เริ่มจาก FAIRLADY Z กันก่อน...



ภายนอก VERTEX + TOP SECRET

ภายนอกด้วยรูปทรงที่เสน่ห์มนต์คลัง ดีไซน์โค้งมน กลมกลืนตลอดรอบคัน โดยเพิ่มชุดแต่งแอโรพาร์ทรอบคันที่สั่งเข้ามาใหม่จากค่าย VERTEX เริ่มจากกันชนหน้า สเกิร์ตข้าง และกันชนหลัง ส่วนต่อมาฝากระโปรงหน้าเปลี่ยนอีกเช่นกัน อันนี้เป็นของค่าย TOP SECRET ชิ้นงานทำด้วย CARBON FIBER พร้อมช่องระบายความร้อน ด้านท้ายยกสูงด้วย CARBON GT WING จาก TOP SECRET อีกเช่นกัน ต่อจากนั้นอัพเกรดชุดไฟหน้าและไฟท้ายเป็นของรุ่น MINOR CHANGE ล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น



ภายใน TOMCAT ชุด CARBON จาก RSW

ส่วนต่อมาเมื่อเปิดประตูบานใหญ่จะพบกับเบาะคู่หน้าลายตาของ RECARO รุ่น TOMCAT พร้อมกับชุด CARBON 4 PARTS KIT OF INTERIOR PANELS ของค่าย RSW โดยมีชุด CENTER PANEL, SHIFT PANEL, WINDOW SWITCH PANEL, INNER HANDLE PANEL พร้อมเครื่องเสียงขนาดย่อม HEAD UNIT ของ KENWOOD DDX-7035+ DVD NAVIGATION SYSTEM ซับวูฟเฟอร์ขนาด 10 นิ้ว ลำโพงกลางแหลม และเพาเวอร์แอมป์จาก ARC AUDIO



VQ35DE (NEO)

เครื่องยนต์ในบอดี้ Z33 เป็นเครื่องยนต์รหัส VQ35DE (NEO) V6 DOHC ขนาดกระบอกสูบ 95.5 x 81.4 มม. 3,498 ซี.ซี. 280 แรงม้า ที่ 6,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 37.0 กก.-ม. กำลังอัด 10.3 เกียร์ออโตเมติก 5 สปีด อัตรทดเฟืองท้าย 3.357 โดยรวมเท่าที่สำรวจดู เครื่องยนต์ยังสแตนดาร์ด ปรับแต่งเพียงระบบทางเดินไอเสียชุดคิตจาก BLITZ NUR SPEC กับกรองอากาศจาก TRUST

ช่วงล่าง ZEAL ล้อ VOLK รุ่น GT-C



ช่วงล่างออกแบบพื้นฐานจากโรงงาน เป็นแบบ MULTI LINK ทั้งด้านหน้าและหลัง ปรับแต่งนอกเหนือจากมาตรฐานให้ดีมากขึ้น ด้วยโช้คอัพแบบสตรัทปรับเกลียวของ ZEAL รุ่น FUNCTION-D ระบบเบรกอัพใหม่หมดทั้งด้านหน้าและหลัง จาก WP PRO ขนาดคาลิเปอร์หน้า 8 พอร์ต จานดิสก์เบรก 380 มม. และด้านหลังแบบ 6 พอร์ต จานดิสก์เบรก 345 มม. พร้อมกับล้อลายห้าก้านของ VOLK RACING รุ่น GT-C ขนาด 20 x 9.5 นิ้ว และ 20 x 10.5 นิ้ว ยาง TOYO PROXES CT01ขนาด 245/35 R20 และ 275/30 R20

อ้างดิงโดย Xo Motorsport...

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551

ไม่เจอกันนานมาอัพเดทข่าวสารแล้วครับ

ไม่เจอกัน 4 วัน เนื่องจากติดภาระกิจ A-net เล็กน้อยครับ
แถมยังต้องเฟ้นหาข่าวทาง Motor Sport ด้วย
2 วันนั้นผมก็เลยต้องพยายามหาข่าวมาทำวันนี้ครับ
แหม่
อะไรมันจะคิวแน่นขนาดนั้น
วันนี้เราก็มีข่าวสารใหม่ๆมาอัพเดทกันครบถ้วน 3 วันเต็มๆครับ ยังไงลองติดตามชมข่าวสารกันด้านล่างเลยนะครับผม~~~
ปรมะ ชุติญาณวัชร
ผู้จัดทำ Block
วันที่ 12/3/51

Honda Civic Mugen RR Experimental งานทดลองที่ไม่รู้จะเป็นจริงหรือเปล่า


เมื่อปีที่แล้ว มูเกน สำนักแต่งในเครือของฮอนด้า มอเตอร์ ทำเอาบรรดาแฟนๆแปลกใจกันเป็นแถว เมื่อนำผลงานต้นแบบที่พัฒนาบนพื้นฐานของฮอนด้า ซีวิค ไทป์ อาร์ใหม่ในรหัส ABA-FD2 ออกมาวางขายในชื่อซีวิค มูเกน อาร์อาร์ (มีข่าวว่าลูกค้าคนไทยสั่งเข้ามาขับด้วย) พร้อมกับสมรรถนะที่เหนือระดับจากซีวิค ไทป์ อาร์

มาในปีนี้ มูเกนยังเดินแผนต่อเนื่องจากมูเกน อาร์อาร์ ด้วยผลงานทดลองที่มีชื่อต่อท้ายว่าเอ็กซ์เพอริเมนทัลเหมือนกับรถยนต์ต้นแบบของโรล์ส-รอยซ์ และเบนท์ลีย์ โดยคราวนี้จับเอามูเกน อาร์อาร์ มาพัฒนาต่อเนื่อง เพิ่มความดุดันทั้งรูปลักษณ์และสมรรถนะ



มูเกน อาร์อาร์ เอ็กซ์เพอริเมนทัลเป็นผลงานที่ถูกจัดแสดงในงานโตเกียว ออโต้ ซาลอน 2008 ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งตัวรถแม้ว่าจะพัฒนาบนพื้นฐานของมูเกน อาร์อาร์ ที่ผลิตออกขายเพียง 300 คันเท่านั้น แต่ก็สร้างความแตกต่างด้วยการหล่อตัวถังด้านหน้าใหม่ โดยใช้คาร์บอนไฟเบอร์เป็นวัสดุ เพิ่มความดุดันและลดน้ำหนักตัวถังไปได้ในตัว



นอกจากนั้นเครื่องยนต์ มูเกนจัดการรีดพิษ K20A ขยายความจุจาก 2,000 ซีซีมาเป็น 2,200 ซีซี (2,157 ซีซี) ทำให้มีกำลังขยับจาก 240 แรงม้า (สเปก Mugen RR) มาเป็น 260 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 23.8 กก.-ม. ส่งกำลังสู่ล้อหน้าด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ และมีการติดตั้ง LSD ไว้ที่ล้อหน้าด้วย รวมถึงติดตั้งระบบ Tire Monitor ที่เรียกว่า I-TMC หรือ Intellligent Tire Condition Monitoring ซึ่งจะทำหน้าที่ในการบอกแรงดันลม และอุณหภูมิของยางในขณะขับผ่านทางหน้าจอมอนิเตอร์ในห้องโดยสาร



ผลิตจริงหรือไม่ยังไม่รู้ แต่ของอย่างนี้ไม่แน่ เพราะก่อนที่จะมาเป็นมูเกน อาร์อาร์ ใครๆ ก็ไม่เชื่อว่ามูเกนจะผลิตออกขายทั้งคัน แต่สุดท้ายก็พลิกโผจนได้

BMW Vision EfficientDynamics จับเทอร์โบดีเซลมาทำไฮบริด


กระแสโลกร้อนทำเอาบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต่างหันมาผลิตและพัฒนารถยนต์เพื่อให้สอดรับกับการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นตัวการในการทำให้สภาวะเรือนกระจก และในงานเจนีวา มอเตอร์โชว์ 2008 เดือนมีนาคมนี้ ทางบีเอ็มดับเบิลยูได้นำต้นแบบรุ่นใหม่มาจัดแสดง เพื่อเปิดเผยและสื่อให้คนทั่วโลกได้รับทราบถึงทิศทางและแนวคิดในการพัฒนารถยนต์ของตัวเองที่มีต่อความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม

ต้นแบบรุ่นนี้มีชื่อว่า Vision EfficientDynamics โดยเป็นการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของตัวถังแบบเอสยูวีจากรุ่นเอ็กซ์5 แต่เหนือชั้นด้วยเทคโนโลยีเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อนรุ่นใหม่ที่ทางค่ายใบพัดสีฟ้าพัฒนาขึ้นมา ซึ่งบีเอ็มดับเบิลยูเรียกระบบนี้ว่า Mild ActiveHybrid Technology



ตัวเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเป็นขุมพลังดีเซลแบบ 4 สูบ 2,000 ซีซีแต่ใช้เทอร์โบถึง 2 ตัวในการช่วยเพิ่มเรี่ยวแรง ถ้าพิจารณาจากกำลังขับเคลื่อน เฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลแล้วถือว่าไม่ธรรมดาเลย เพราะรีดออกมาได้ 204 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 20.8 กก.-ม. ที่ 2,000-2,500 รอบ/นาที

โดยจะมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15 กิโลวัตต์ และแรงบิดสูงสุด 21.0 กก.-ม.รับหน้าที่ในการช่วยขับเคลื่อนภายใต้รูปแบบ Mild Hybrid ซึ่งเน้นไปที่การช่วยขับเคลื่อน โดยเฉพาะในการเรียกอัตราเร่งเป็นหลัก เพื่อลดภาระในการทำงานของเครื่องยนต์



มอเตอร์ไฟฟ้าชุดนี้จะถูกติดตั้งอยู่ระหว่างฟลายวีลของเครื่องยนต์กับชุดเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะรุ่นใหม่ล่าสุด โดยนอกจากการช่วยขับเคลื่อนแล้วก็จะทำหน้าที่ชาร์จกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน ขนาด 120 โวลต์เวลาที่มีการเบรกหรือถอนคันเร่ง และสามารถดับเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติเมื่อจอดติดอยู่กับที่ เหมือนกับระบบไฮบริดทั่วไป

นอกจากนั้นบนหลังคาของตัวรถยังเจาะเป็นซันรูฟและใช้แผงโซล่าร์เซลล์ติดตั้งมีพื้นที่ 1 ตารางเมตรในการช่วยสร้างกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบอีกด้วย



สมรรถนะของตัวรถถือว่าไม่ธรรมดาทั้งในเรื่องความจัดจ้านและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะใช้เวลาเพียง 8.9 วินาทีในการทำอัตราเร่งจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยที่มีอัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศเพียง 172 กรัมต่อการใช้งาน 1 กิโลเมตร และมีความสิ้นเปลืองน้ำมันอยู่ที่ 17.54 กิโลเมตร/ลิตร

แน่นอนว่าในตอนนี้ยังเป็นต้นแบบสำหรับจัดแสดง แต่เมื่อดูจากองค์ประกอบโดยรวมแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่บีเอ็มดับเบิลยูจะพัฒนาระบบนี้ให้เป็นจริง เพื่อใช้กับรถยนต์ขนาดใหญ่ที่กินน้ำมันดุๆ อย่างเอ็กซ์5 หรือไม่ก็ซีรีส์ 5 หรือซีรีส์ 7 ส่วนฝันนี้จะกลายเป็นจริงเมื่อไรนั้น คงต้องติดตามกันต่อไป

Rolls-Royce Phantom Coupe บรรจบความหรู-สปอร์ต


เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่างมายบัคของค่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์แล้ว แบรนด์โรลส์-รอยซ์ของบีเอ็มดับเบิลยูสามารถสร้างสีสันในตลาดซูเปอร์หรูของโลกได้อย่างต่อเนื่องและดึงเงินออกจากบัญชีของเศรษฐีเป็นว่าเล่น โดยต่อจากการผลิตตัวถังซีดานและเปิดประทุน คราวนี้จะเป็นคิวของความสปอร์ตบนเรือนร่างคูเป้กันบ้าง

รถสปอร์ตรุ่นนี้จะใช้ชื่อแบบเรียบง่ายว่า แฟนธอม คูเป้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงรากเหง้าและพื้นฐานในการพัฒนาว่ามาจากซีดานระดับหรูรุ่นแฟนธอมที่เปิดตัวในปี 2003 และตัวรถก็เป็นผลผลิตมาจากโปรเจ็กต์ต้นแบบที่เคยสร้างความฮือฮาบนเวทีมอเตอร์โชว์เมื่อปี 2006 มาแล้วอย่างรุ่น 101EX ซึ่งถูกนำมาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับรสนิยมของลูกค้าระดับหรูทั่วโลก

เมื่อนับดูแล้ว คูเป้จะเป็นตัวถังที่ 3 ต่อจากซีดานที่มีทั้งรุ่นฐานล้อธรรมดาและฐานล้อยาว และดรอปเฮด คูเป้ซึ่งเป็นตัวถังเปิดประทุน ในยุคของโรลส์-รอยซ์ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบีเอ็มดับเบิลยูซึ่งเทคโอเวอร์กิจการมาตั้งแต่ปี 1998 และจัดการแบกตัวออกจากเบนท์ลีย์รวมถึงย้ายโรงงานผลิตจากเมืองครูว์มาอยู่ที่กู๊ดวูด ประเทศอังกฤษในปี 2003


แน่นอนว่าบนตัวถังแบบ 2 ประตูที่มีความยาว 5,609 มิลลิเมตรและระยะฐานล้อ 3,320 มิลลิเมตร (สั้นกว่ารุ่นแฟนธอม 250 มิลลิเมตร) รายละเอียดของรูปลักษณ์ทั้งภายนอกและภายในถูกปรับปรุงมาจากแฟนธอม ซีดาน ซึ่งก็รวมถึงลักษณะของการเปิดประตูทั้ง 2 บานเพราะแทนที่จะเปิดเหมือนกับรถยนต์ปกติ ในรุ่นคูเป้กลับเปิดแบบง้างออกจากทางด้านหน้าโดยที่บานพับของประตูอยู่กับเสา B-Pillar แทนที่จะเป็นเสา A-Pillar

ขณะที่ตัวถังด้านท้ายออกแบบใหม่ เน้นความลงตัวและประโยชน์ใช้สอยในการใช้งาน โดยสามารถเปิดได้ทั้งฝากระโปรงหลังและชิ้นส่วนตัวถังด้านท้ายยังสามารถเปิดห้อยลงมาเหมือนกับฝากระบะท้ายของปิกอัพเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสัมภาระ ส่วนความจุของห้องเก็บสัมภาระด้านท้ายอยู่ที่ 395 ลิตรมากพอสำหรับบรรทุกถุงกอล์ฟได้ถึง 4 ถุงอย่างสบายๆ

ใครที่คาดหวังจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงสำหรับภายในและเครื่องยนต์คงต้องผิดหวัง เพราะว่ารายละเอียดของห้องโดยสารถูกออกแบบโดยอิงกับสไตล์เดียวกับแฟนธอมเน้นความหรูมากกว่าความสปอร์ต และตกแต่งด้วยลายไม้เป็นหลัก พร้อมกับติดตั้งเครื่องเสียงชั้นเยี่ยมด้วยระบบเสียง Logic7TM จาก Lexincon ส่วนเบาะหลังซึ่งสำหรับรองรับผู้โดยสารอีก 2 คนออกแบบให้ตัวเบาะมีลักษณะเป็น Loung Seat คล้ายกับโซฟามีความกว้างขวางและสะดวกสบายไม่ต่างจากเบาะนั่งด้านหน้าเลย


สำหรับเครื่องยนต์ก็ยังยึดมั่นอยู่กับบล็อกเบนซินวี12 ทวินแคม 48 วาล์ว 6,750 ซีซีที่เปิดตัวครั้งแรกกับแฟนธอม แต่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นอีกนิดด้วยการใช้ระบบจ่ายน้ำมันเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง หรือ Direct Injection และระบบวาล์วแปรผันมาใช้ทำให้ตอบสนองที่ทันใจด้วยแรงบิดซึ่งถูกถ่ายทอดออกมามากถึง 75% ในรอบต่ำตั้งแต่ 1,000 รอบต่อนาที

ในเรื่องของสเปกนั้น เครื่องยนต์รุ่นนี้มีกำลังสูงสุดที่ 453 แรงม้า ที่ 5,350 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 73.4 กก.-ม. ที่ 3,500 รอบต่อนาที ส่งกำลังสู่ล้อหลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ และใช้เวลาเพียง 5.8 วินาทีในการแบกตัวถังที่มีน้ำหนักถึง 2,590 กิโลกรัมให้แล่นทะยานจากจุดหยุดนิ่งสู่ระดับความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสูงสุดถูกล็อกเอาไว้ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายของอียูกำหนดเอาไว้

นอกจากความหรูแล้ว โรลส์-รอยซ์ยังติดตั้งระบบความปลอดภัยที่ทันสมัยครบครัน ทั้งระบบควบคุมการทรงตัวแบบ DSCทำงานร่วมกับระบบช่วงล่างแบบอิสระทั้ง 4 ล้อรวมถึงยางแบบรันแฟล็ต ซึ่งยังสามารถแล่นต่อไปได้แม้ยางแบนอีก 160 กิโลเมตรด้วยความเร็ว 80ท กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนในด้านความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น ยังไม่มีการระบุออกมา ซึ่งแม้ว่าตรงนี้ลูกค้าที่เป็นเศรษฐีจะไม่ค่อยสนใจเท่าไร แต่จากการเปิดเผยคร่าวๆ ของทางโรลส์-รอยซ์ระบุว่า ถังน้ำมันจำนวน 100 ลิตรของรุ่นคูเป้สามารถแล่นได้ 630 กิโลเมตร เท่ากับว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.3 กิโลเมตรต่อลิตรถือว่าไม่เลวเลยสำหรับรถยนต์ที่ใหญ่ทั้งขนาดตัวถังและเครื่องยนต์ขนาดนี้

โรลส์-รอยซ์จะนำแฟนธอม คูเป้ออกเปิดตัวครั้งแรกในเจนีวา มอเตอร์โชว์ 2008 ระหว่างวันที่ 6-16 มีนาคมนี้ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทางไลน์ผลิตที่โรงงานกู๊ดวูดจะเริ่มเดินเครื่องทำงานทันทีเพื่อให้ทันกับออร์เดอร์จากลูกค้าที่คาดว่าจะมีมากในระดับหนึ่ง แม้ว่าราคาของตัวรถจะยังไม่มีการเปิดเผยออกมาเลยก็ตาม

Chrysler ecoVoyager การเดินทางในอนาคต รูปแบใหม่


1 ใน 3 ต้นแบบของค่ายไครสเลอร์ที่ถูกเปิดตัวออกมาในงานดีทรอยต์ มอเตอร์โชว์ 2008 พร้อมกับความน่าสนใจ ไม่เฉพาะในเรื่องของการออกแบบที่สวยและล้ำสมัย แต่ยังอยู่ที่เทคโนโลยีของการขับเคลื่อนซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อคนยุคหน้าอย่างแท้จริง

ต้นแบบรุ่นนี้ใช้ชื่อว่าอีโคโวยาเจอร์ ซึ่งแค่ชื่อก็บ่งบอกถึงความหมายของตัวรถได้เป็นอย่างดี เพราะโวยาเจอร์ถือเป็นรถยนต์อเนกประสงค์รุ่นดังของค่ายไครสเลอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ส่วนคำว่าอีโคด้านหน้าหมายถึงความประหยัดน้ำมัน (หรืออาจจะไม่ต้องพึ่งน้ำมันเลย) และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็น 2 สิ่งสำคัญที่รถยนต์ยุคหน้าจะขาดไม่ได้


เทรเวอร์ ครีด รองประธานฝ่ายออกแบบของไครสเลอร์กล่าวว่า บนตัวถังที่มีความยาวขนาด 4,856 มิลลิเมตรและระยะฐานล้อ 2,946 มิลลิเมตร อีโคโวยาเจอร์ได้รับการออกแบบให้สวยและล้ำสมัยแถมยังแฝงด้วยความหรูราในทุกรายละเอียดเพื่อสะท้อนถึงทิศทางใหม่ของงานออกแบบที่ค่ายไครสเลอร์จะนำมาใช้ในอนาคต

ส่วนเลย์เอาท์ของตัวรถเป็นแบบขับเคลื่อนล้อหน้าที่มีระบบกันสะเทือนหน้าหลังแบบแม็กเฟอร์สันสตรัทและติดตั้งระบบขับเคลื่อนซึ่งมีความทันสมัยเพื่อสอดรับกับความต้องการของคนในอนาคต


ระบบขับเคลื่อนที่ใช้มาในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell ซึ่งประกอบไปด้วยชุดแบตเตอรี่แบบลิเยมขไออนขนาด 16 kWh มอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนตัวรถมีขนาด 200 กิโลวัตต์ หรือ 268 แรงม้าเลยทีเดียว ส่วนระบบเซลล์เชื้อเพลิงจะรับไฮโดรเจนที่ส่งมาจากถังที่ทนแรงดันสูงถึง 700 บาร์ หรือ 10,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อนำมาใช้ในการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนภายในแผงเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell Stack ขนาด 45 kWh ในการผลิตกระแสไฟฟ้า


ในเรื่องสมรรถนะถือว่าไม่เป็นรองรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เพราะอีโคโวยาเจอร์มีอัตราเร่งจาก 0-96 กิโลเมตรต่อชั่วโมงต่ำกว่า 8 วินาที และยังมีระบบในการนำพลังงานที่สูญเปล่าจากการเบรกหรือลดความเร็วมาปั่นเป็นกระแสไฟฟ้าเก็บเข้าสู่แบตเตอรี่อีกด้วย ส่วนในเรื่องของระยะทางการใช้งานต่อไฮโดรเจน 1 ถังนั้นถือว่าไปได้ไกลพอตัว กับระยะทาง 300 ไมล์ หรือ 483 กิโลเมตร

แม้อีกนานกว่าที่จะผลิต แต่ในตอนนี้อีโคโวยาเจอร์ก็สร้างชื่อไปให้กับไครสเลอร์แล้ว เพราะว่าได้รับเลือกให้คว้ารางวัล EYES ON DESIGN ประเภท BEST TRUCK CONCEPT ไปแล้ว


งานนี้จัดขึ้นโดย DETROIT INSTITUTE OF OPHTHALMOLOGY หรือสถาบันจักษุวิทยาแห่งดีทรอยต์ ซึ่งเป็นสถาบันนานาชาติให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาสายตา ร่วมกับ DASSAULT SYSTEMS บริษัทซอฟท์แวร์ออกแบบในเครือบริษัทเครื่องบินรบฝรั่งเศส เพื่อมอบรางวัลให้กับต้นแบบที่เปิดตัวในดีทรอยต์ มอเตอร์โชว์ที่มีความสวยและโดดเด่น

Hot Spot : โตโยต้า ไอคิว รถที่เล็กที่สุดในโลก


โตโยต้า เผยโฉม โตโยต้าไอคิว รถซีดานสี่ประตูที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ที่งานแสดงรถยนต์ที่แฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมัน เสริมนัยของโตโยต้าในการเป็นผู้นำการลดการใช้พลังงานและลดมลภาวะ

โตโยต้าไอคิวถูกออกแบบมาเพื่อเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ขนาดเล็กเพื่อใช้ในตัวเมือง รถรุ่นนี้ถูกออกแบบที่ศูนย์การออกแบบรถยนต์ของโตโยต้าในประเทศฝรั่งเศล

โตโยต้าไอคิวมีขนาดความยาว 2.98 เมตร ซึ่งสั้นกว่าโตโยต้ายาริสถึง 0.77 เมตร แต่ขนาดความกว้าง 1.6 เมตร และความสูง 1.4 เมตรของไอคิวก็ใกล้เคียงกับยาริส ซึ่งทำให้ภายในมีขนาดกว้างขวางสำหรับรถขนาดเล็กเช่นนี้


โตโยต้าไอคิวถูกออกแบบด้วยระบบ innovative 3+1 seating ซึ่งออกแบบที่นั่งสำหรับผู้ใหญ่ 3 ที่และเด็ก 1 ที่ โดยที่ของเด็กสามารถปรับให้เป็นที่วางสัมภาระได้ โดยที่นั่งด้านหน้าสามารถปรับขึ้นลงได้ ซึ่งทำให้เมื่อมีผู้โดยสารหน้าเพียง 2 คน ก็จะสามารถปรับที่นั่งเลื่อนไปข้างหลัง ทำให้ด้านหน้ามีที่วางขาอย่างสะดวกสบาย


รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องยนต์ของไอคิวยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เป็นที่คาดกันว่า ไอคิวจะใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า โตโยต้าคาดว่าจะส่งไอคิวออกสู่ท้องถนนของยุโรปเป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551

สุดยอดรถแต่ง Drag Super Civic Space Frame Dragster "8 วิ ถ้วนๆ"


SUPER CIVIC SPACE FRAME DRAGSTER "8 Sec. Class"
Full Space Frame + Swap To"4G63" 1 In Thailand !!!

หลังจากงาน SOUPED UP THAILAND RECORDS 2007 ที่ผ่านมา ก็มี"ควันหหลง"เก็บตกรถแรง ๆ ให้ท่านได้ชมกัน เป็นปกติที่จะต้องมี"ตัวแปลก" ที่เกิดขึ้นมาใหม่ ๆ กันมากมาย คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามี CIVIC EK9 สีส้มอยู่คันหนึ่ง ที่เพิ่งเสร็จออกมาสด ๆ ร้อน ๆ และสามารถทำเวลาได้"8.695 วินาท" ซึ่งไม่เลวเลยทีเดียว สามารถฟันตำแหน่ง"อันดับ 5" ทั้งในรุ่น Over All และ Super Max ก็เป็นผลงานที่สวยงาม รถคันนี้เป็น"งานสร้าง" โดยฝีมือ"คนไทย" เหมือนกัน แถมยังใช้ขุมพลังต่างค่ายอีกด้วย ทำไมถึงต้องทำอย่างนั้น ??? และยังมีเทคนิคการ"เก็บข้อมูลการทำงานของช่วงล่าง" อีก รายละเอียดเหล่านี้รอท่านอยู่ในคอลัมน์แล้วครับ...



เจ้า CIVIC EK9 คันนี้ หากใครเคยอ่าน XO AUTOSPORT เมื่อหลายปีก่อน คงคุ้น ๆ ว่า คันนี้เดิมเป็นรถ Drag ที่ใช้แข่งในอเมริกา สมัยที่ ็"ท่านบอย" สรวงศ์ เทียนทอง ยังเรียนอยู่ที่นั่น พอกลับมาก็ได้"หิ้ว" คันนี้กลับมาด้วย แล้วก็ว่าจะทำแข่ง แต่ก็ไม่ว่างสักที เก็บมานานจนได้ที่ จนมาถึงต้นปี 2007 ทาง DON MoTeC + ทีมงาน VATTANA + ทีมงาน SINGHA + อู่พี่เรือง (Lipo วัชรพล) + อู่ช่างเผือก ก็มีความคิดที่จะปลดระวางเจ้า PROTON SATRIA ที่ทำมาจนคิดว่าเกือบสุดแล้ว (จริง ๆ แล้วอยากวิ่ง 8 เหมือนกัน แต่คงไม่มีเหตุผลที่จะต้องเอามันมาแข่งกับรถเฟรม) เลยวางโปรเจ็กต์ใหม่ไว้ว่า ถ้าจะได้เวลาเร็วกว่านี้ ก็ต้องเปลี่ยนไปเล่น"รถเฟรม" กันแล้ว...

พอได้ความคิดที่จะทำรถเฟรม เลยมานั่งคุย (ยืนมันเมื่อย) กับทีมช่างไว้ว่า"จะทำรถ Frame ขึ้นมาแข่ง Drag สักคัน" ก็กะไว้ว่า จะหาเวลาว่างหลังเลิกงานประจำ ค่อย ๆ ปั้นมันขึ้นมา ก็ศึกษาข้อมูลการสร้างรถ Drag ให้ละเอียด เพราะเราก็ยังไม่เคยทำรถ Drag ที่เป็น Full Frame มาก่อน
ตรงนี้ก็มีวัตถุประสงค์อีกอย่างที่นอกเหนือจากเรื่องการแข่งขันว่า "ต้องการฝึกทักษะให้กับช่างในด้านการทำรถควอเตอร์ไมล์ิ" เพราะปกติจะทำแต่รถเซอร์กิตเป็นหลัก เลยมีความคิดที่ว่า"ทำรถให้เลี้ยวก็ทำได้ ทำรถให้วิ่งตรงมันก็น่าจะทำได้นะิ" พอได้ข้อมูลก็ลงมือทำ ประกอบกับทาง"บอย เทียนทอง" ก็ปลดระวางรถคันนี้พอดี เลยให้ทางทีมงานจัดการได้ตามใจชอบ โปรเจ็กต์นี้เลยได้เกิดแบบทันควัน...

ส่วนตัวผู้ทำเอง ก็อาศัยการเปิดตำราการทำรถเฟรมเป็นหลัก อีกทางก็จะได้รับคำปรึกษาจากเพื่อนที่เรียนทำรถแข่งอยู่อเมริกาด้วยส่วนหนึ่ง (แว่นอีโวทอง) แล้วนำมาปรับให้เข้ากับมิติตัวถังของ CIVIC ก็เริ่มลงมือสร้าง การขึ้นเฟรมเป็นฝีมือของ"อู่พี่เรือง"พอได้มิติเฟรมที่แน่นอนก็ลงมือ"ตัดรถ" โดยคงโครงที่เป็นชิ้นส่วนประกบด้านข้าง (Side Panel) เอาไว้ เพื่อยังรักษาทรงรถเดิมไว้อยู่ แต่ส่วนอื่น ๆ ก็ "ตัดทิ้ง" ทั้งหมด (ดูรูปประกอบก็จะเห็นครับ) ตอนแรกก็ว่าจะทำแค่เป็น"Back Half Frame" แต่ไป ๆ มา ๆ ช่วง"ซับเฟรมด้านหน้าิ" ดันมีปัญหาซะแล้ว แ-่งลามไปซะ...

จริง ๆ ปัญหามันไม่ใช่อะไรหรอก เพราะเราไปเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนซะเอง เดิมเป็นรถขับหน้า พอจะเอามาวางเป็นระบบ"ขับหลัง" มันไม่ได้กัน ไม่สามารถวางเครื่องลงไปได้ ก็เลยต้องตัดทิ้ง เลยต้องสร้างเป็น Full Frame เบ็ดเสร็จทั้งคัน ส่วนที่ว่าทำไมต้องเป็นขับหลัง ลองอ่านไปเรื่อย ๆ แล้วจะทราบเหตุผลเองครับ ส่วน"เปลือกตัวถัง" ก็สร้างเป็น
"คาร์บอนไฟเบอร" ขึ้นมาใหม่ (ยกเว้นส่วนของ Side panel ยังเป็นเหล็กอยู่) ส่วนของ"พื้น" ก็เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ ประสานกันแบบ"รังผึ้ง" (Honey Comb) เพื่อความแข็งแรง เป็นผลงานของ ็"ช่างบัว" ทีม SINGHA ครับ...

พอมาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมต้องเปลี่ยนจากระบบขับหน้า มาเป็นขับหลัง มูลเหตุมันมีอยู่นิดเดียวครับ
ก็คือพอมันมี"เด็กพิเรน" ที่บ้าไปซื้อเกียร์ของ HOLINGER (ที่ยังไม่เคยใช้เลย) ซึ่งเป็นแบบ Sequential 6 สปีด ขับเคลื่อนล้อหลังก็เลยได้ไอเดียว่า"มีของอยู่ก็เอามาใช้ิ" จะสั่งใหม่ก็แพงเปล่า ๆ เลยเปลี่ยนระบบเป็น ็"ขับหลัง" ซะเลย ฮาดี ไหน ๆ มาถึงตรงนี้แล้ว ก็พูดถึงเรื่อง"เกียร์" ซะเลยก็แล้วกัน จริง ๆ แล้ว เกียร์ลูกนี้มันก็ยังไม่ค่อย"แมตช์" กับควอเตอร์ไมล์สักเท่าไหร่ เพราะ"จำนวนเกียร์เยอะไป" ทำให้เสียเวลาเปลี่ยนเกียร์มากเกินความจำเป็น ขณะที่เกียร์ลูกนี้ การเฉลี่ยอัตราทดมันก็ดีอยู่แล้ว รอบตกมาอยู่ในช่วง Power Band ที่ต้องการตลอด แต่อย่างไรก็ตาม กำลังจะหาทางปรับเปลี่ยนให้เหลือ"5 สปีด" แล้วเรียงอัตราทดใหม่ให้เหมาะสม ก็น่าจะช่วยเวลาให้ดีขึ้นอีกสัก"จุดหนึ่ง จุดสอง" น่าจะได้...


อ้อ หากใครได้ดูตอนรถคันนี้วิ่ง โดยเฉพาะคนที่อยู่ตอนกลาง ๆ ถึงปลายสนาม ก็จะได้ยินเสียงการเปลี่ยนเกียร์กระแทกตึงๆ เหมือนกับเสียงของระบบ"Air Shift" พอมาดูจริง ๆ ก็เป็นระบบ Sequential ทั่วไปนี่แหละ เพียงแต่เค้าเพิ่มตัว"Shift Solenoid" เข้าไป เมื่อดูรูป จะเห็นมีกระบอกกลม ๆ สีทอง มี Link มายึดที่ด้ามเกียร์ ตัวนั้นเป็นตัวปรับเปลี่ยนเกียร์ ควบคุมโดยชุด Paddle Shift ที่คอพวงมาลัย สามารถ"เพิ่ม" หรือ "ลด" จังหวะเกียร์ได้ตามต้องการ เจ้า Shift Solenoid ก็จะ"ดึง" หรือ"ดัน" คันเกียร์ ตามแต่เราจะสั่ง อันนี้จะมีใช้ในรถแข่งหลายประเภท ไม่เหมือนกับเกียร์ Air Shift อันนั้นจะใช้ "ลม" ในการสั่งการ และจะเป็นการ"เปลี่ยนเกียร์จังหวะสูงขึ้น" (Shift up) เท่านั้น ไม่สามารถทวนเกียร์ต่ำ (Shift down) ลงได้...

นี่ก็เป็นอีกจุดที่คนเริ่มจะสงสัยกันว่า ทำไมบอดี้ HONDA จึงหันไปใช้เครื่องจากค่าย MITSUBISHI ล่ะ ก็ได้รับคำตอบว่า ใจจริงก็อยากจะเล่นเครื่อง HONDA อยู่เหมือนกัน ที่มองไว้ก็เป็นพวก" K Series" ซึ่งมันก็แรงดี หากทำขึ้นมาเต็มชุดล่ะก็โอ.เค. เพียงแต่ด้วยเงื่อนไขของ "เวลาและทุนทรัพย์" ที่มีจำกัด ตอนนี้จุดมุ่งหมายคือ "จะทำยังไงก็ได้ ให้รถวิ่งได้ดีก่อน เพราะอย่างที่ได้กล่าวมา เรากลัวเรื่อง Chassis และ 4 link มากกว่าการทำเครื่องแรง จึงไม่มีเวลาที่จะมาเริ่มต้นใหม่กับเครื่อง HONDA K Series + Turbo ซึ่งยังไม่เคยทำมาก่อน ถ้าจะทำให้สมบูรณ์มันก็ต้อง "กินเวลา" พอสมควร และต้องใช้เวลาในการปรับเซ็ตอย่างอื่นอีก จึงทำไม่ทันแน่ แต่ในอนาคต เป็น HONDA แน่...



การตัดสินใจจึงเกิดขึ้น ด้วยการเล่น "ของคุ้นเคย" นั่นก็คือ "4G63" สเต็ปเครื่องที่วางไว้ก็คงเหมือนกับ PROTON นั่นก็คือ โมดิฟายไส้ในด้วยชุด "TOMEI" 2.2 ลิตร ตอนแรกทำออกมาก็คงไม่ได้เน้นแรงมาก เพราะไม่อยากผลีผลาม รถก็เพิ่งเสร็จ (แตะพื้นล้อหมุนครั้งแรกวันพฤหัสก่อน SOUPED UP) เราต้องการลองรถก่อน เมื่อรถวิ่ง "ตรงจริง ๆ" แล้ว เครื่องแรงไม่น่าเป็นปัญหา แต่ตัวเครื่องก็ทำองค์ประกอบต่าง ๆ ไว้รอแล้ว จึงไม่ยากที่จะเพิ่มแรงม้าทีหลัง ไม่ต้องรื้อออกมาทำใหม่ซ้ำซ้อนอีกที...

จุดแตกต่างระหว่างตอนนั้นกับตอนลงหนังสือนี้ ก็จะมีเรื่อง "เทอร์โบ" ตอนวิ่ง SOUPED UP ที่ผ่านมา ก็ใช้ของ GARRETT GT40 ลูกเล็ก ๆ ตอนที่วิ่งแข่งก็มีแรงม้าอยู่สักประมาณ "750 แรงม้า" (ฉีดไนตรัสแล้ว) ตอนต้นดี ออกดี เพราะ Response ของเทอร์โบมันมาเร็ว แต่ช่วงปลาย ๆ เกียร์ 5-6 ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะมัน "หมด" แล้ว ความเร็วปลายจึงไม่ Shoot ตามที่ควรจะเป็น แต่ตั้งใจไว้ว่าเน้นเรื่อง "ออกตัว" เป็นหลัก พอหลังงาน SOUPED UP เราก็คิดว่ารถเริ่มปรับ Traction เข้าที่เข้าทางแล้ว ก็เปลี่ยนเทอร์โบเป็น "HKS T51 KAI BB" ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ก็จะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ให้มากขึ้นไปอีก...



สำหรับในส่วนของ "ช่วงล่าง" เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ จะต้องมีการ "ปรับเซ็ตที่ถูกหลัก" ด้วย จึงจะได้ความสมบูรณ์และคุ้มค่าแบบสูงสุด การปรับเซ็ตของคันนี้ จะอาศัย "Shock Potentiometer" ก็คือเป็นเซ็นเซอร์ที่วัดการทำงานของช่วงล่าง อันนี้เคยพูดถึงกันไปแล้วบ้าง ซึ่งในบ้านเราก็ยังไม่ค่อยมีใครใช้ ความสำคัญของมันก็คือ "สามารถต่อไปหาจอ MoTeC หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถเก็บ Data Log" ของการทำงานของช่วงล่างได้ มันจะรายงานผลเป็นกราฟออกมา (เดือนต่อไปเราจะเริ่มเขียนเรื่อง Datalog จริง ๆ จัง ๆ) ทำให้เราทราบว่า ขณะที่รถวิ่ง ช่วงล่างทำงานอย่างไร ทำแบบไหน ยืดหรือยุบ ช้าหรือเร็ว สิ่งเหล่านี้ผู้ที่เซ็ตรถจะต้องทราบ เพื่อปรับให้เข้าหลักการทำงานของช่วงล่างแต่ละแบบ...

เรื่องของการเก็บ Data log ของช่วงล่าง ในบ้านเราก็ถือว่ายังค่อนข้างใหม่ แต่ในต่างประเทศก็ใช้กันเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ซึ่งเท่าที่ดูแล้ว "มีประโยชน์" มาก ๆ เลยทีเดียว อย่างในบ้านเรา ส่วนใหญ่ก็มักจะเน้นจับอาการกันทางด้าน "ความรู้สึก" ของผู้ขับ และมีการสังเกตการณ์จากด้านนอกรถ โดยช่างของทีมนั้น ส่วนใหญ่ก็จะถ่าย VDO เอาไว้ เพื่อดูอาการของรถ แล้วก็มาปรับกันตามวิธีของแต่ละคน แบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดครับ แต่ในบางกรณี ประสาทสัมผัสของคนเรา มันก็อาจจะมีการ "พลาด" กันได้ บางทีเราเห็นว่ารถมันยุบ โช้คอาจจะไม่ยุบ แต่อาจจะไปยุบที่ยางแทนก็ได้ (เนื่องจากล้อมัน "ตบ" ลง จากแนวแรงการหมุนของเครื่องยนต์) เหตุการณ์เหล่านี้มันจะเกิดขึ้นเร็วมาก การสังเกตจึงอาจจะ "ไม่เต็มร้อย" สักเท่าไหร่ ก็อาจจะต้องลองปรับไปเรื่อย ๆ ซึ่งไปถูกทางก็เร็ว ถ้าไม่ถูกทางก็คลำกันลำบากหน่อย...

ดังนั้น การเก็บข้อมูลของช่วงล่าง เมื่อพึ่งเครื่องมืออย่าง Shock Potentiometer ก็จะสามารถเก็บข้อมูลการทำงานของช่วงล่างไว้ได้ แล้วก็นำกราฟมาพิจารณาดูว่า ช่วงไหนรถยุบ ช่วงไหนรถยืด รถเอียงไปทางไหน ช่วงเปลี่ยนเกียร์ โช้คอัพยืด ยุบช่วงไหน ฯลฯ เราก็สามารถปรับแก้อาการให้มีความสมดุลมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดเวลาได้มาก สามารถรู้อาการที่แท้จริงของตัวรถได้ถ่องแท้กว่า โดยเฉพาะการปรับ "โช้คอัพ" ที่สามารถปรับค่าการ "ยุบ" (Bump) และ "ยืด" (Rebound) ได้หลาย ๆ ตำแหน่ง พวกนี้ถ้าไม่มีข้อมูลก็จะเสียเวลา "คลำ" กันมากมาย เพราะ Combination มันเยอะเหลือเกิน มานั่งปรับทีละจุดก็คงจะไม่ไหว และไม่ได้ใช้ของดี ๆ อย่างเต็มที่ แต่พอมีข้อมูล เราก็จะสามารถปรับได้ตรงกับความต้องการของรถคันนั้นจริง ๆ ของพวกนี้มันไม่ได้มีสูตรตายตัว ต้องปรับแล้วดูอาการเอาเอง ว่ารถคันนี้มีอาการยังไง และจะต้องปรับช่วงล่างแบบไหน เพื่อให้วิ่งได้เสถียรที่สุด เราคิดว่ามันคุ้มมาก ๆ กับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการทำ Datalog รถคันนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า การใช้ Datalog System และ Sensor ต่าง ๆ ที่ให้ประโยชน์โดยตรง จะสามารถทำให้คนที่ปรับจูนช่วงล่าง "ประหยัดเวลา" และรู้จริง ๆ ว่าต้องปรับ 4 links ไปทางไหน และสามารถรู้ได้ว่าเราต้องปรับโช้คอัพ (Bump + Rebound) ไปทางไหน ไม่ได้ปรับมั่ว ๆ แล้วออกไปวิ่งลอง พอลองไปพักนึงไม่เริ่มงงก็เครื่องพัง ยางหมดซะ...


ตอนนี้รถก็มาถึงกับสิ่งที่ต้องการได้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็เหลือเพียงแต่ "การปรับเปลี่ยน" บางอย่าง เช่น เพลาท้ายสั่งของ STRANGE มาใหม่ เวลาออกตัวรถคันนี้ก็สามารถจะออกตัวได้แรงกว่านี้ เปลี่ยนเทอร์โบใหม่ ก็คงจะต้องวิ่งและปรับไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้รถคันนี้มันวิ่งได้เร็วขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ก็อย่างที่บอกไปแล้วในตอนต้นว่า เอาคันนี้ไว้ "ฝึกฝนช่าง" ในทักษะการแข่ง Drag ให้มีมากขึ้น ตรงนี้ก็ถือว่าได้มาตามสิ่ง ที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น...

ต่อไปนี้คือความเห็นจากนักแต่งจากสำนักต่างๆที่มาช่วยกันโม Civic ตัวนี้ครับ

Comment : ดอน เชี่ยวชาญวลิชกิจ (ดอน MoTeC)
รถคันนี้เราทำขึ้นมาโดยอาศัยเวลาว่างจากการทำรถเซอร์กิต เริ่มทำตั้งแต่เดือนมีนาคม ปีที่แล้ว ดูเหมือนใช้เวลานาน แต่จริง ๆ แล้วใช้เวลาไม่นานนัก เพราะในช่วงเดือนเมษายน ก็จะเริ่มมีฤดูกาลแข่งเซอร์กิต ซึ่งเราก็ต้องหยุดการทำรถคันนี้ไป มาเริ่มขึ้นเฟรมอีกทีเดือนพฤษภาคม ช่วงนั้นก็หยุดไปอีก มาเร่งเอาอีกทีช่วงก่อนการแข่ง SOUPED UP ก็เสร็จทันพอดี รถคันนี้ถ้าจะพูดกันตรง ๆ ก็ยังมีความที่ไม่สมบูรณ์แบบเต็มร้อยนัก เพราะมันเป็น "รถคันแรก" ของพวกเรา แต่โดยรวมแล้วก็พอใจ คงเหลือแต่การปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ว่ากันที่รถคันหน้าครับ สำหรับ "ข้อผิดพลาด" ของคันนี้มีอยู่มากครับ โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักของอุปกรณ์ที่เรารีบใส่ไปตอนท้ายตอนรถใกล้เสร็จ จริง ๆ แล้วผมคิดว่าถอดมันออกแล้วใส่อันใหม่ที่เบากว่าแทนได้ แต่ขอโทษ ทีมงานผมมันชอบใส่ไปชั่วคราวก่อน แต่แ-่งใช้ชั่วโคตร !!! ท้ายสุดก็อยากจะบอกว่า "รถคันนี้เป็นสิ่งใหม่มากสำหรับพวกเรา คนที่ทำรถคันนี้ทั้งหมด ไม่เคยมีความรู้เลยในการสร้างรถ Tube Frame และการ Tune up ช่วงล่าง 4 Links แม้แต่นิดเดียว ความตั้งใจก็คือ ผมต้องการให้รถคันนี้เป็นอาจารย์สำหรับทีมงาน เพื่อที่อนาคตพวกเขาอาจจะเห็นว่าเป็นอีกแขนงหนึ่งของความสามารถของพวกเขา ไม่ได้คิดว่ารถคันนี้ต้องเร็วที่สุดในประเทศ แค่เพียงต้องการให้มันวิ่งเร็วที่สุดเท่าที่เราคิดว่าเราทำได้" อีกอย่างก็คือ "ผมแอบชื่นชมรถเฟรมทุก ๆ คัน จริง ๆ ผมคิดว่าคนที่สร้างและ Tune up ช่วงล่างทุก ๆ คันจะต้องมีความพยายามและจินตนาการมากจริง ๆ ขอชื่นชมครับ"

Credits"ดอน MoTeC ขอขอบคุณ"
Sponsor เจ้าประจำที่ไม่เคยทิ้ง "ของถูก" อย่างเรา "พี่ต๊อด" SINGHA, "ตั่วเฮีย" จาก Rivera Caf? (Poseidon), Hang Foreplay, Autobacs ที่ได้รับความช่วยเหลือในการติดต่อจาก พี่ "ปรีดา ตันเต็มทรัพย์" หรือ Nick name "ฝรั่งแข่งรถ", National Brake ที่ไม่เคยทอดทิ้ง (แม้ว่าผมจะใช้ผ้าเบรกยี่ห้ออื่น !!!), XO AUTOSPORT ที่ยังไงก็ต้องช่วย (ใช่มั้ย),"แอม NSX" และที่แน่นอน พี่ชายที่เอ่ยปากเลยว่าพี่ขอลงขันด้วยคน พี่ "สุพจน์ กสิกรรม" K45, Vattana Motorsport สำหรับหัวเกียร์ OMP (???) และอื่น ๆ ในอนาคต, ผลิตภัณท์ Wurth ที่ต้องกล่าวต่อไปคือ หุ้นส่วน "สองพี่น้องงูเห่าเผือก" ถ้าไม่ได้ซื้อเกียร์ HOLINGER ลูกนี้ ไอ้รถคันนี้คงไม่ได้เกิด, พี่ Dome (แว่นอีโวทอง) สำหรับความช่วยเหลือด้าน Technical จาก USA, ทีมงาน "Vattana Motorsport, Singha, Lipo" วัชรพล และที่แน่นอน "พี่ตั้ง" ซึ่งผมให้ชื่อว่าเป็นเจ้าของรถ และ "Boon BRC" คนทำ Tube Frame คันนี้ (สนใจโทร.ไป 08-9110-8095) ถ้าเขียนต่อก็คงขอบคุณไม่หมดจริง ๆ บางคนที่ไม่ได้กล่าวถึงก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ... ป.ล. อันนี้ลืมไม่ได้ ขอขอบคุณจากใจจริง ๆ สำหรับ "ภรรยาที่น่ารักของผม" ที่เข้าใจว่าผมต้องแบ่งเวลาให้กับลูกอีกคนของผม...

Comment : พัชรพงษ์ แสงดี
คันนี้ก็เป็นอะไรที่ "แปลก" แบบคาดไม่ถึง ไม่นึกด้วยซ้ำว่าจะเสร็จทันงานใหญ่ของเรา แต่เมื่อทำออกมาแล้ววิ่งได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ จุดเด่นของรถคันนี้ ก็คงจะหนีไม่พ้น "4 เม็ด ระบือโลก" ที่เค้าถนัด แรงม้าอาจจะดูไม่มากมายเหมือนคราวก่อนหรือเครื่องที่ใหญ่กว่านี้ แต่ด้วยการที่เซ็ต "ช่วงล่าง" ได้ดี โดยมีหลักการและอุปกรณ์ที่ถูกต้อง อาจจะดูว่าลงทุนเรื่อง Software และอุปกรณ์ ค่อนข้างสูงแต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ"รถแข่ง" ในปัจจุบันนี้ที่หวังผลเลิศและข้อมูลที่ถูกต้อง ในการแข่งขัน ผมเชื่อว่าทุกคนก็สามารถลงทุนเรื่องนี้ได้สบาย ๆ ก็จะทำให้การเซ็ตรถง่ายขึ้นครับ...

**Supra 3RZ Project 4 สูบ 1,400 hp**


จริง ๆ แล้วโครงการนี้ SPEED D และ Siam Prototype เริ่มวางแผนกันมาตั้งแต่ต้นปี 50 ความตั้งใจคือ จะหาเครื่องมาใส่ในรถ Siam Prototype Drag Celica โดยคาดหวังไว้ว่าจะวิ่งในงาน Souped up 2007 ตอนปลายปี แต่พอใกล้ ๆ งาน รถดันไม่เสร็จ เลยได้เอาเครื่องยนต์ตัวนี้ไปใส่ในบอดี้ SUPRA 80 ซึ่งจอดอยู่ว่าง ๆ ไม่มีเครื่อง เพื่อจะแข่งในรุ่น Pro Modified 4 สูบ งานนี้ทาง Siam Prototype ได้มอบหมายให้ทาง SPEE D PROSHOP เป็นผู้จัดการในเรื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย Concept มีอยู่ว่า เครื่องยนต์ต้องไม่ใช่ 2JZ แต่ต้องมีแรงม้าให้เกิน 1,200 hp ในงบประมาณที่มีให้

ตอนแรกทาง SPEED D ได้มองเครื่องยนต์ไว้ 2 รุ่น โดยถ้าไม่ใหญ่สุด ๆ ก็เล็กสุด ๆ ไปเลย คือ 8 สูบ 2UZ FE 4.7 L กับ 4 สูบ 3RZ 2.7 L แต่พอมาคำนวณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนที่จะได้กลับมา 3RZ น่าจะมีสัดส่วนแรงม้าต่อเงินลงทุนที่ค่อนข้างคุ้มค่ามากกว่า เพราะอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยมากแล้ว ราคาต่อชิ้นจะไม่ต่างกันเยอะ แต่เครื่องเล็กใช้อุปกรณ์แค่ครึ่งเดียว (4 สูบ กะ 8 สูบ) จึงฟันธงว่า เอา 4 สูบดีกว่า จากนั้นก็เลยมาศึกษากันว่าไอ้เครื่อง 3RZ เนี่ยมันจะไปหาที่ไหนได้บ้าง เพราะมันเป็นเครื่องยนต์ของ Toyota Tacoma ซึ่งอยู่ที่อเมริกา สอบถามผู้รู้ก็ถึงบางอ้อว่า จริง ๆ แล้วเมืองไทยก็มีอยู่เยอะพอสมควร เพราะมันเป็นเครื่องยนต์ที่ประจำการอยู่ใน Toyota Grandvia เครื่องยนต์ตัวนึงราคาอยู่ประมาณ 40,000-50,000 บาท หน้าตาดูบ้าน ๆ โหงวเฮ้ง ไม่น่าแรงได้ แถมเป็นเครื่องโซ่อีกต่างหาก แต่ก็ไหน ๆ ก็ไหน เอามาลองดูสักหน่อย

เริ่มโครงการ SPEED D กลับบ้านมานั่งเปิด WEB ดู เห็นฝรั่งเค้าทำกันได้ 1,200-1,400 แรงม้า ส่วนใหญ่เป็นรถแข่ง Drag ขับหน้า ของแต่งหายากพอสมควร เพราะมีอยู่ไม่กี่เจ้าที่เล่นกับเจ้าเครื่องยนต์ตัวนี้ ที่เห็น ๆ ก็ มี TRD USA, Paradise Racing, LC Engineering etc, ยิ่งยากยิ่งน่าลอง…มันท้าทายดี ขั้นตอนแรกในการทำงานคือต้องวางแผนก่อน ดังนั้นเครื่องยนต์ตัวนี้ ได้วางแผนไว้ว่า ต้องมีแรงม้าอยู่ที่ 1,000-1,200 hp ในช่วง 6,500-9,000 rpm, แรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 100 kg-m ขึ้นไป ที่ช่วง 5,500-6,000 rpm ที่ต้องมีสมมติฐานไว้ก่อนก็เพื่อที่จะได้ สั่งเทอร์โบและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมไปถึง เกียร์, คอนเวอร์เตอร์ ทุกอย่างให้ได้ตามสเป็กที่ต้องการ



Engine



เรื่องเครื่องยนต์เป็นอะไรที่วุ่นวายมาก เพราะต่างสำนักก็จะมีของที่ต่างกันออกไป แต่ถ้าซื้อมาจากหลาย ๆ เจ้ามารวมกัน อาจจะมีปัญหาเวลาสั่งอะไหล่เพื่อซ่อมแซม อุปกรณ์หลักต่าง ๆ สั่งตรงจาก LC Engineering เพราะว่าทางนี้เค้ามีอะไหล่ค่อนข้างมากและหลากหลาย สามารถสั่งทำได้ ของบางอย่างก็ต้องใช้เวลาติดต่ออยู่นาน เพราะสำนักนี้จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ Tech Department และ Sales Department การติดต่อจึงวุ่นวายมาก เพราะการโยนกันไปโยนกันมา กว่าจะได้ข้อสรุปกันว่าจะเอาอะไรแบบไหน ก็กินเวลาไปนาน เพราะสิ่งที่ต้องการเป็นสิ่งที่เค้าไม่มีขายอยู่ ฝรั่งก็งง ทำไมคุณไม่เอาแบบที่มี คุณจะเอาอะไรไม่รู้วุ่นวาย แต่เรายินดีที่จะจ่าย ทำมาให้หน่อยละกัน เอาแบบพื้น ๆ มันไม่สนุก อยากได้อะไรที่มันเป็นแบบคิดเอง ออกแบบเอง และทำเอง ผลลัพธ์จะออกมาอย่างไรก็ไม่ว่า เครื่องยนต์ตัวนี้ที่แรงออกมาได้นั้น ไม่ใช่ได้เกิดจากความโชคดี หรือว่าฟลุ้ค มันเกิดมาจากมันสมองของคนไทยที่กล้าคิด และบ้าที่จะทำ ไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ ซึ่งมันเป็นผลทำให้วงการพัฒนา พ่อบุญทุ่มอย่าง Siam Prototype จึงได้ยอมลงทุนสร้างอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมา ถ้าผลลัพธ์มันออกมาดีก็เสมอตัว ถ้าผลลัพธ์มันออกมาชั่ว ก็คงโดนเหยียบจมดิน สุดท้ายก็สรุปกันว่า จะสั่งท่อนล่างไป 2 ตัว ตัวแรกสั่งอุปกรณ์ (Engine Assembly) 2.7 L ก็คือ ตัวที่ใช้อยู่ขณะนี้ เข้ามาประกอบในเมืองไทยโดย Siam Prototype เป็นผู้ประกอบเอง
ซึ่งในขั้นตอนประกอบได้ปรับเปลี่ยนลูกสูบเป็นแบบฟอร์จ (Forge piston) ขนาด 95.5 mm. ของ CP Piston โดยกำลังอัดที่ใช้ คือ 11.0 ก้านสูบใช้ของ Pauter แบบ X-Beam สามารถรองรับแรงม้าเกิน 1000 hp ซึ่งในสเต็ปแรกนี้ยังคงใช้ข้อเหวี่ยงเดิมของ 3RZ แต่เป็นของใหม่ ที่ดูแล้วใหญ่โตใช้ได้ จากนั้นก็เปลี่ยนชาฟท์อกและชาฟท์ก้านเป็นของ Clevite 77 ซึ่งพิเศษตรงที่ ทาง LC Enginering ไม่ได้ใช้ชาฟท์ตามขนาดของโรงงาน Toyota แต่ไปเอาชาฟท์ที่มีหน้ากว้างมากกว่า ของพวก GM มาใช้ ทั้งนี้ทาง LC Engineering เป็นผู้จัดส่งมาให้ทั้งชุดข้อเหวี่ยงและแบริ่งชาฟท์ ปั้มน้ำมันเครื่องในสเต็ปแรกนี้ใช้แบบสแตนดาร์ด แต่ในอนาคตจะนำระบบ Dry Sump เข้ามาใช้แทน ส่วนท่อนล่างอีกตัวเป็นแบบ Custom Order Short Block ยืด Stroker เป็น 3.15 Litre ต้องรอไปเรื่อย ๆ ไม่รู้นานแค่ไหน ต้อง Place Order ไว้


ฝาสูบที่ดีจะสามารถผลิตกำลังของเครื่องยนต์ได้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ (VE : Volumetric Efficiency) ดังนั้นชิ้นส่วนต่าง ๆ จึงสำคัญเป็นอย่างมาก "ฝาสูบ" จึงเน้นแบบทีเดียวจบ คือเปลี่ยนทุกอย่างที่มีให้เป็นวัสดุที่ดีที่สุด และขนาดใหญ่ที่สุด อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นของสั่งทำ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายเนื่องจากวัสดุที่ไม่สามารถทนได้ ซึ่งแคมชาฟท์ที่ใช้ไม่มีขายอยู่ทั่ว ๆ ไป สั่งให้ทาง LC Engineering ทำเป็น Custom Grind Billet Camshaft สร้างขึ้นมาจากเหล็กก้อน โดยทั้งนี้ทางผู้ผลิตให้ SPEE D กำหนด องศา (Advertised Duration) และระยะยก (Gross Lift) ของแคมชาฟท์ไปให้

สำหรับการกำหนดสเป็กนี้ จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ยาก เนื่องจากสมัยนี้มีเทคโนโลยีที่กว้างไกล สามารถ Simulate Power Band ได้จากโปรแกรม Computer ต่าง ๆ โดยใส่ค่า Parameter ที่ต้องการเข้าไป ดังนั้นจึงได้ทดลอง Simulate ค่าต่าง ๆ แล้วสั่งให้ทาง LC Engineering เป็นผู้จัดทำให้อีกที ส่วนการปรับตั้งแคมชาฟท์ LC Engineering เป็นผู้กำหนดมาให้ว่า จะต้องปรับตั้งเท่าไหร่ จึงจะได้ช่วงกำลังอย่างที่ต้องการ ครั้งนี้ LC Engineering ได้ Simulate มาเป็นค่าเริ่มต้น เฟืองปรับตั้งแคมชาฟท์มีทั้งหมด 3 ชิ้น โดย 2 ชิ้นจะติดอยู่ที่แคมชาฟท์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สั่งทำขึ้นเป็นพิเศษ โดยเป็นแบบเฟืองตรง (Straight Cut Cam Gear) สามารถปรับละเอียดได้ทั้งไอดีและไอเสีย ส่วนอีกชิ้นนึงจะติดตั้งไว้กับโซ่ซึ่งใช้ขับเคลื่อน ซึ่งก็สามารถปรับตั้งแบบละเอียดได้อีกครั้ง

"ชุดวาล์ว" ถูกเปลี่ยนให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่าของสแตนดาร์ด 2.5 mm. โดยไอดีมีขนาด 40 mm. ไอเสีย 33 mm. ซึ่งจะต้องทำการเปลี่ยนบ่าวาล์วด้วย เพราะว่าบ่าวาล์วของโรงงานสามารถขยายไปได้ไม่เกิน 1 mm. จากขนาดของวาล์วเดิม นอกจากนั้นก็ได้ทำการเปลี่ยนสปริงวาล์วเป็นแบบสองชั้น เพื่อรองรับกับแคมชาฟท์ที่มีระยะยกมากกว่าเดิม รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงวาล์วลอยตัวในรอบสูง ส่วนรีเทนเนอร์วาล์วก็เปลี่ยนเป็นแบบ Titanium และทำการเปลี่ยนถ้วยวาล์ว จากระบบชิมบน (Outer Shim) เป็นระบบชิมล่าง (Inner Shim) เนื่องจากการดีไซน์ของแคมชาฟท์โดยใช้ถ้วยวาล์ว (Valve Bucket) ขนาด 35 mm. โดยมีชิมแบบพิเศษมาให้

สำหรับฝาสูบนี้ก็ได้ทำการปรับขยายพอร์ต จาก Twin Port เป็น Big Single Port ในฝั่งไอดี ในระบบอัดอากาศ SPEED D เลือกใช้ Garrett GT47R Ball bearing ที่สั่งตรงมาจาก USA สามารถปั่นแรงม้าได้ 1,450 hp ระบบท่อทางไอดี ใช้ท่อขนาด 3.5" เน้นทำให้สั้นที่สุด อัดอากาศผ่านอินเตอร์ Blitz ขนาด 4" เข้าท่อไอดีแบบ Custom made ในระบบเชื้อเพลิงก็ใช้ปั๊มของ SX Performance A1000 2 ตัว ซึ่งทางโรงงานเคลมว่า หนึ่งตัวสามารถรองรับได้ 1,000 แรงม้า จากนั้นก็เปลี่ยนหัวฉีดเป็นของ Magnus Motorsport ขนาด 2,200 ซี.ซี. จ่ายเชื้อเพลิงเข้าห้องเผาไหม้

คันนี้เนื่องจาก SPEED D เป็นผู้ควบคุมโปรเจ็กต์ กล่องที่เลือกใช้จึงเป็นกล่อง HKS F-Con V PRO ปรับจูน โดย SPEED D ตามเคย แต่เนื่องจาก Software ของ F-CON VPRO รองรับการทำงานของ Crank Sensor ซึ่ง 3RZ ไม่มี ทาง SPEED D จึงได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ Engine Management System ของ Mitsubishi 4G63 ซึ่งต้องแก้จานจ่ายของ 4G63 ให้ใส่ในเครื่องยนต์ 3RZ และต้องทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยทาง Siam Prototype ร่วมกับ JEAD Wiring จัดการในส่วนนี้และได้ทำการเดินสายไฟตัวรถเท่าที่จำเป็น ซึ่งสายไฟเครื่องยนต์ได้ทำเป็นแบบ Stand Alone คือ ไม่มีกล่องเดิม เหลือเพียงแค่ F-Con V PRO ใบเดียวคอนโทรลทุกอย่าง ใช้ตัว Control Box ของ MOROSO เพื่อเปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น ปั๊มเชื้อเพลิง, พัดลม, สวิตช์ต่าง ๆ และได้เพิ่มเติม MSD DIS 4 และ Coil ของ Accel เข้าไปเพิ่มความรุนแรงของไฟจุดระเบิด สำหรับการปรับจูนก็ได้ขึ้น Dyno ที่ Power lab รูปแบบของการวัดแรงม้าที่ Power lab นี้จะแบ่งออกเป็นสองแบบ แบบแรกคือ Actual Power หรือ แรงม้าที่ลงล้อจริง ๆ ส่วนแบบที่สองจะเป็น Wheel Drag หรือ เรียกง่าย ๆ ก็คือ Drive Live Loss ซึ่งมาจากเกียร์, เฟืองท้าย โดย Actual วัดได้จากกำลังเครื่องยนต์ที่ส่งผ่านมาที่ล้อ ปั่นออกมาเป็นกำลังไฟฟ้า ส่วน Wheel Drag สามารถวัดได้จากแรงที่ใช้หยุดลูกกลิ้ง ในขณะที่เข้าเกียร์ว่าง หรือ Unload จากเครื่องยนต์ ต้องเป็นการวัดที่เกิดขึ้นจริงไม่ใช่เกิดจากข้อมูลแล้ว Simulate เอา การปรับจูนครั้งแรกนั้น ได้ทำการปรับจูนโดยใช้ Racing Fuel Octane 100 บูสต์อยู่ที่ 2.1 Bar ส่วนในครั้งที่ 2 ได้ปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงเป็น Racing Fuel C16 บูสต์สูงสุดอยู่ที่ 3.15 Bar หรือ 47 PSI วัดแรงม้าแบบ Actual Power ได้แรงม้าสูงสุดที่ล้อ 1,110 hp หรือ 1,380 BHP ที่ฟลายวีล (1,110 hp จาก Actual Power + 270 ที่เป็นค่า Wheel Drag จะได้ 1,380 แรงม้า) จะเห็นได้ว่ารถคันนี้ มีแรงม้าที่สูญเสียมากเนื่องจากใช้เกียร์ออโต้ ซึ่งตามทฤษฎีจะอยู่ประมาณ 20% ซึ่งจากค่าที่ออกวัดออกมา (270 Hp / 1,380 Hp) ถือว่ายอมรับได้

สำหรับรถคันนี้ระบบช่วงล่างหน้าหลังยังคงรูปแบบเดิมของ Supra อยู่ แต่ทำการปรับเปลี่ยน Shock Absorber ไปเป็นของ HKS Drag และเปลี่ยนเฟืองท้ายเป็น 4.4 ของ Powerhouse Racing USA มาพร้อมกับ Spool หรือ Full Lock เพื่อการออกตัวและมี Traction ที่ดี ล้อหน้าและหลังเป็น ของ Weld Racing รุ่น Prostar ส่วนยางเป็นของ MH Racemaster

WHITE & YELLOW MR2 BORDER STYLE BY R SPEC II



ประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม สำหรับการทดสอบหารถเร็วที่สุดในเมืองไทยประจำปี 2007 ในรายการ SOUPED UP THAILAND RECORDS 2007 จัดติดต่อกันมาเป็นปีที่ 6 ด้วยรถที่เข้าร่วมแข่งขันกว่า 100 คัน มากที่สุดในวงการแดร็กบ้านเราที่เคยจัดมา บทสรุปของปีนี้ คันที่เร็วที่สุดเป็นของ TOYOTA SUPRA SPACE FRAME จากทีม RAM 77 SERVICE / SPEED D / GOODYEAR RACING ด้วยเลขสวยสุดๆ 7.654 sec. ขอขอบคุณเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ จากทุกสารทิศ ทั้งภาคเหนือ-ใต้-ออก-ตก และกรุ๊ปทัวร์จากมาเลเซีย ที่มาร่วมส่งเสียงเชียร์รอบสนาม รวมทั้งทีมงานนักข่าวพันธมิตรจากหลายฉบับ ที่ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวนี้ รวมทั้งนักข่าวมอเตอร์สปอร์ตจาก SPORT COMPACT CAR อเมริกา ที่ร่วมงานกับเราด้วยเช่นกัน

ฉบับแรกของปีหนู ปรับโฉมใหม่ ด้วยเนื้อกระดาษที่ดีขึ้น ยังคงอัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระที่เข้มข้นมากขึ้นทุกปี และจะพยายามนำเสนอตัวแรงใหม่ ๆ ล่าสุดก่อนใครมาให้ท่านผู้อ่านได้ยลโฉมให้ได้มากที่สุด ฉบับนี้เอาแบบเบา ๆ เนิบ ๆ กันไปก่อนแล้วกันนะครับ กับ TOYOTA MR2 ของน้องนัท และน้องหลุยส์ จากทีม NON SENSE ที่มีรถสปอร์ตสวย ๆ อยู่หลากหลายคัน เอาเป็นว่าเราจะหาจังหวะเหมาะ นำมาเสนอกันทั้งทีมเลยดีไหม...

WHITE MR2
BORDER STYLE



สูตรสำเร็จของความสวยงาม ภายนอกคงหนีไม่พ้นชุดแต่งแอโรพาร์ทที่ประกอบเข้าด้วยกันอยู่หลายส่วน ตัวกันชนหน้า ฝากระโปรงหน้า สเกิร์ตข้าง กันชนหลัง เจ้าของรถ ได้เลือกใช้ของค่าย BORDER รอบคัน พร้อมกับโป่ง FRONT OVER FENDER และ REAR OVER FENDER เป็นไอเดียจากเจ้าของรถเอง ผสมผสานกับงานฝีมือของสำนัก YATT จึงออกมาสวยอย่างที่เห็น แต่การโป่งแบบนี้ ถ้าจะให้แนบสนิทสวยงามจึงต้องแก้ไขปรับแต่งสเกิร์ตข้างให้ขยายกว้างต่อเนื่องเสมือนเป็นชิ้นเดียวกัน จากนั้นเพิ่มเติมแรงกดหน้าบริเวณมุมกันชนด้วย CANARS CARBON ด้านข้างเปลี่ยนกระจกมองข้างและช่องดักลมเข้ากรองอากาศ AIR SCOOP จาก BOMEX ด้านบนสปอร์ตด้วยหลังคาแก้ว T-BAR จากโรงงาน ไฟท้ายเปลี่ยนเป็นรุ่นเวอร์ชั่นสุดท้ายของบอดี้นี้ทรง "โดนัท" พร้อมหางหลัง GT WING CABON จาก SARD

ภายใน ไม่พลาดกับเบาะ+เกจ์วัด+เครื่องเสียง


เทรนด์การตกแต่งแบบรถสปอร์ต 2 ที่นั่ง กับห้องโดยสารพื้นจำกัด พร้อมอุปกรณ์ที่มีมาสำหรับการใช้งานพอสมควร จึงจำเป็นที่ค่ายแต่งต่าง ๆ ผลิตและผลักดันของแต่งมาสนองความสวยงามมีประโยชน์เป็นตัวเลือกเพิ่มเติมให้กับรถที่คิดจะแต่งกันจริง ๆ ภายในของคันนี้มีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร โดยพวงมาลัยก็เปลี่ยนตามเทรนด์ "ก้านยก" จาก NARDI เบาะคู่หน้าบั๊กเก็ตซีตจาก RECARO รุ่น RAPTOR ปลอดภัยด้วยสายเข็มขัดนิรภัยจาก ABELT.C หัวเกียร์ HKS หน้าปัดเรือนไมล์เปลี่ยนเป็นของ MR2 รุ่นเครื่องยนต์เทอร์โบ บนคอนโซลหน้าเรียงแถวด้วยเกจ์วัดจาก DEFI ครบชุด สำหรับวัดบูสต์เทอร์โบ วัดอุณหภูมิไอเสีย วัดอุณหภูมิน้ำ วัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง และวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งเกจ์วัดแบบดิจิตอล VSD จากค่ายเดียวกัน TURBO TIMER จาก A'PEXi ส่วนตัวปรับบูสต์ยอดนิยมแบบไฟฟ้าจาก BLITZ รุ่น DUAL SBC จากนั้นอัพเกรดเครื่องเสียงด้วย HEAD UNIT จาก ALPINE CDA-7893R ลำโพงเสียงกลาง-แหลม จาก FOCAL ซับวูฟเฟอร์ขนาด 10 นิ้ว 1 ตัวหลังเบาะนั่งจาก DIGITAL RESEARCH เพาเวอร์แอมป์ 1 ตัว จาก DIGITAL RESEARCH รุ่น RVA-400.4

ตามสเป็กจากโรงงานโดยเฉพาะรุ่นที่มีหลังคาแก้ว T-BAR เครื่องยนต์ที่ประจำการในรุ่นนี้จะเป็นเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศอย่างเทอร์โบมาให้ เนื่องจากโครงสร้างโดยเฉพาะหลังคาแก้ว ในเรื่องของความปลอดภัยและแข็งแรงที่มีน้อยกว่าหลังคาแบบแข็ง แบบรถยนต์ทั่วไป แต่สำหรับคันนี้ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์รหัสเดียวกัน แต่มีระบบอัดอากาศพ่วงมาด้วย 3S-GTE รุ่นที่ไม่ใช้แอร์โฟล์วมิเตอร์ในการวัดปริมาณไอดีก่อนเข้าห้องเผาไหม้แล้ว เป็นรุ่น NON AIR FLOW METER โมดิฟายเล็กน้อยด้วย BLOW OFF VALVE จาก GReddy TYPE R อินเตอร์คูลเลอร์ ชุดคิต ติดตั้งในตำแหน่งเดิม แต่จะมีขนาดที่ใหญ่และหนาขึ้นจาก TRUST ระบบจุดระเบิดรองรับอุณหภูมิได้สูงขึ้นจาก NIPPON DENSO แบบ IRIDIUM เบอร์ 8 สายหัวเทียน SPLITFIRE ระบบไอเสีย ชุดคิตอีกเช่นกันที่เจ้าของภูมิใจเสนอจากค่าย GARAGE SPL รุ่น DEPARTURE ซึ่งสำนักนี้ขึ้นชื่อในเรื่องของการโมดิฟายเครื่องยนต์ พร้อมชุดแต่งสำหรับ MR2 โดยเฉพาะระบบส่งกำลังแบบธรรมดา 5 สปีด รองรับแรงบิดเยอะขึ้นได้ด้วยชุดคลัตช์ของ TRD แบบ SINGLE PLATE

ช่วงล่าง TEIN +CUSCO ล้อหน้า-หลัง ความเหมือนที่แตกต่าง...
ช่วงล่างปรับเซ็ตตามการใช้งานในรูปแบบ STREET ด้วยโช้คอัพแบบสตรัทปรับเกลียวหน้าและหลังของ TEIN TYPE FLEX พร้อมตัวค้ำเบ้าโช้คอัพบนหน้า-หลังจาก CUSCO หนวดกุ้งหน้า FRONT TENSION ROD KIT จาก CUSCO ต่อจากนั้นอัพเกรดระบบเบรกคู่หน้ามาใช้ของรุ่น MR2 TURBO ที่มีขนาดใหญ่กว่า เข้าชุดกับล้อหน้าที่หน้าตาคล้ายกับล้อหลัง แต่พอลองมองกันจริง ๆ มันต่างค่ายกัน โดยล้อหน้าเป็นของ NISMO รุ่น LM GT4 ขนาด 17 x 8.5 นิ้ว ล้อหลังจาก BEE-R รุ่น B5 ขนาด 18 x 9.5 นิ้ว พร้อมกับยาง YOKOHAMA ADVAN NEOVA AD07 ขนาด 215/45 R17 และ 225/40 R18 มาต่อกันที่คันสีเหลืองเพื่อนซี้ทีมเดียวกัน....


MR2 BORDER+ORIGIN+APS
3S-GTE TD06-25G + A'PEXi POWER FC


มาต่อกันที่ MR2 คันสีเหลืองของนายหลุยส์ กันบ้าง คันนี้โดยรวมของการตกแต่งนั้นมาจากหลายค่ายผสมกันจนลงตัว เครื่องยนต์มาดนักรบบนถนน พร้อมแดร็กในสนามกับการโมดิฟายใช้งานสเต็ปต้น...

ภายนอก ชุดแต่งผสมมากันครบ...

ในส่วนของชุดแต่งแอโรพาร์ท โดยรวมมาจากหลายค่าย หลายสำนัก ตัวกันชนหน้าเป็นของค่าย BORDER ที่ออกแบบให้มีช่องดักลมที่ใหญ่ขึ้น พร้อมลิ้นหน้ารีดลม CANARD CARBON และฝากระโปรงหน้า CARBON จาก ORIGIN มาทั้งหมด ด้านข้างเปลี่ยนโป่งคู่หน้า FRONT WIDE FENDER จากญี่ปุ่นไม่ทราบสำนักแต่ง ต่อเติมสเกิร์ตข้างให้ตัวรถดูเตี้ยลงจาก TOM'S และกระจกมองข้างทรงสปอร์ตจากญี่ปุ่น

ส่วนด้านท้าย ได้เปลี่ยนตัวกันชนเป็นของค่าย APS และฝากระโปรงท้ายของห้องเครื่องแบบมีช่องระบายความร้อนที่ใหญ่ขึ้นจาก ORGIN นอกจากนั้นยังเปลี่ยนชุดไฟเลี้ยวหน้าแบบโคมขาว CRYSTAL CHROME และไฟท้าย BLACK TAIL LIGHTS เทรนด์กำลังฮิตในญี่ปุ่น

3S-GTE NON AIR FLOW METER 400 แรงม้า+++

เครื่องยนต์สำหรับบอดี้นี้คงไม่ใครจะเปลี่ยนเป็นรหัสอื่นแน่นอน กับเครื่องยนต์แบบ 4 สูบ 3S-GTE รุ่น NON AIR FLOW METER โมดิฟายไปพอสมควร ด้วยชุดไส้ใน ตั้งแต่ฝาสูบ เปลี่ยนแคมชาฟท์ให้เปิดนาน ๆ เพื่อรับไอดีได้มากจาก HKS ขนาด 272 องศา ลิฟต์ 9.3 มม. พร้อมตัวปรับเฟืองแคมสไลด์เพื่อตั้งระยะโอเวอร์แล็ปจาก JUN ท่อนล่าง มีลูกสูบ FORGED ของ HKS ขนาด 87 มม. ส่วนท่อนล่างที่เหลือยังเดิมสนิท ระบบอัดแรงดันอากาศ เปลี่ยนมาใช้เทอร์โบของ GReddy TD06-25G 10 cm2 พร้อมเวสต์เกตแยก SARD TYPE J ติดตั้งอยู่บนเฮดเดอร์สเตนเลสของ GReddy ต่อเข้าท่อทางเดินไอเสีย BULLET TITANIUM
ด้านระบบไอดีปรับแต่งและขยายท่อทางเดินใหม่ อินเตอร์คูลเลอร์ย้ายมาไว้ด้านหลังภายในห้องเก็บสัมภาระจาก TRUST หนา 4 นิ้ว พร้อมด้วย BLOW OFF VALVE จาก GReddy TYPE R จากนั้นแก้ไขเรื่องระบบจ่ายน้ำมันยกเซ็ต ตั้งแต่ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงจาก BOSCH รางหัวฉีดและหัวฉีด SARD ขนาด 800 ซี.ซี. คุมแรงดันไหลวนกลับด้วย REGULATOR จาก SARD ระบบจุดระเบิดเปลี่ยนหัวเทียนมาใช้ของ NGK เบอร์ 8 โดยปรับเปลี่ยนกล่องควบคุมมาใช้ของ A'PEXi POWER FC จูนโดย นายดี SPEED D กับแรงม้า 400 แรงม้า +++ ระบบส่งกำลังยังเป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด พร้อมชุดคลัตช์จาก OS GIKEN แบบ TWIN PLATE

New Audi V 12 TDI


ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการซูเปอร์คาร์
Audi เขย่าวงการซูเปอร์คาร์ ด้วยการปฏิวัติแนวคิดใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีเครื่อง ยนต์ดีเซล TDI มาวางลงในซูเปอร์คาร์ประจำค่ายอย่าง R8 ค่าย Audi เป็นหนึ่งในผู้นำด้านเครื่องยนต์ดีเซล โดยมีรางวัลระบบแชมป์โลก 2 สมัย การันตีจากสนามแข่ง Le Mans ในรถแข่ง Audi R10 ที่ใช้ขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับ R8 V12 TDI จะใช้เครื่องยนต์แบบ V12 ติดตั้งระบบอัดอากาศแบบทวินเทอร์โบ พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ สามารถผลิตแรงม้า 500 แรงม้าและมีแรงบิดอันมหาศาลถึง 102.0 กก.-ม. ที่รอบต่ำเพียง 1,750 จนถึง 3,000 รอบ/นาที สามารถสร้างอาการหลังติดเบาะได้ต่อเนื่องทุกช่วงความเร็ว และสามารถพุ่งทะยานจาก 0-100 กม./ชม. ได้ภายใน 4.2 วินาที ส่วนเรื่องเสียงของเครื่องยนต์ดีเซลที่อาจไม่กระหึ่มเท่าบล็อกเบนซินนั้น ทางวิศวกรของ Audi ก็ได้ออกแบบระบบท่อไอเสียให้มีเสียงแบบสปอร์ตอย่างมีเอกลักษณ์ นอกจากนี้เครื่องยนต์ V12 บล็อกนี้ยังมีมลพิษต่ำระดับ Euro 6 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะบังคับใช้ในยุโรปภายในปี 2014 อีกด้วย



แบบเครื่องยนต์
V12 ดีเซล ทวินเทอร์โบ

ปริมาตรกระบอกสูบ
6.0 ลิตร

กำลังสูงสุด
500 แรงม้า

แรงบิดสูงสุด
102.0 กก.-ม./1,750-3,000 รอบ/นาที

ระบบขับเคลื่อน
4 ล้อ


ระบบเกียร์
ธรรมดา 6 สปีด

ระบบกันสะเทือน (หน้า/หลัง)
ดับเบิลวิชโบน

ระบบเบรก (หน้า/หลัง)
ดิสก์ ช่องระบายความร้อน

มิติ (ย. x ก. x ส.)
4,435 x 1,905 x 1,250 มม.

อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม.
4.2 วินาที

ความเร็วสูงสุด
300 กม./ชม.